เมื่อเดือนที่แล้ว มีการตรวจสอบเพื่อต่ออายุใบอนุญาตครองครองก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG
จึงมีโอกาสกลับมาทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง และเอาสรุปบางส่วนมาให้ครับ
จากประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2554
เลยขอหยิบยกเนื้อหาบางจุดมาฝากกัน โดยขอยกตัวอย่างในส่วนของป้ายบ่งชี้อันตราย และป้ายคำเตือนต่างๆ ว่าจำเป็นต้องมีข้อความใดบ้าง สำหรับข้อความบังคับ นะครับ ต้องประกอบด้วยข้อความดังนี้
ติดที่ประตูทางเข้ารั้วโปร่งให้มีป้ายที่มีข้อความ
” อันตราย
- ห้ามสูบบุหรี่
- ห้ามก่อประกายไฟ
- ห้ามบุคคลภายนอกเข้า
- ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ “
โดยข้อความในป้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงบนพื้นสีขาว มีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย โดยมีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร และต้องติดป้ายไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย
สำหรับข้อความที่เพิ่มจากเดิม คงเป็นข้อความห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
สำหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซแบบเหนือพื้นดิน ต้องมีแผ่นป้ายทำด้วยโลหะติดแน่นไว้ที่ถัง
โดยต้องแสดงรายละเอียดเป็นข้อความภาษาไทย และหรือภาษาอังกฤษที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
ดังต่อไปนี้
(๑) มาตรฐานและหมายเลขมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ
(๒) ชื่อ หรือตรา หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือสร้าง
(๓) ชื่อ หรือตรา ของผู้ทดสอบและตรวจสอบคุณภาพ
(๔) วัน เดือน ปี ที่ ผลิตหรือสร้าง
(๕) ความดันใช้งานและความดันสูงสุด อุณหภูมิปลอดภัยสูงสุดและต่ำสุดที่ใช้ในการคำนวณออกแบบ
(๖) ความจุสุทธิ
(๗) น้ำหนัก รวมทั้งส่วนประกอบที่ติดอยู่กับถัง
(๘) ชนิด และปริมาณของก๊าซที่จะบรรจุได้
(๙) หมายเลขทะเบียนประจำถังที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมธุรกิจพลังงาน
วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือสร้างตาม (๔) ให้หมายถึงวันที่ทำการทดสอบและตรวจสอบครั้งแรก
การติดแผ่นป้ายที่ถังเก็บและจ่ายก๊าซต้องไม่ทำให้เสียความมั่นคงแข็งแรงแก่ถังเก็บและจ่ายก๊าซ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ LPG ทั้งหมด ผมเคยสรุปในบทความก่อนหน้านี้
—> กฎหมายที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG
แล้ววันหลังจะสรุปเนื้อหากฎหมายอื่นมาฝากกันครับ