ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ ที่ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดนั้น
แร่ธาตุที่จุลินทรีย์ต้องการในปริมาณมาก คือ คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และเหล็กเล็กน้อย
โดยสัดส่วนที่เหมาะสม คือ BOD:N:P = 100:5:1
ทำไมถึงเป็นสัดส่วนนี้ มีที่มาว่าส่วนประกอบของเซลล์มี C 50%, O 20%, H 8%, N 14%, P 3% โดยประมาณ
และมี model ของ cell bacteria C5H7O2N
สัดส่วนนี้ใช้ทำอะไร ใช้ในการตรวจสอบลักษณะน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบว่ามีปริมาณสารอาหารเหมาะสมหรือไม่
ถ้าไม่เหมาะสมมีบางอย่างน้อยไป ก็ให้ปรับสัดส่วนใหม่ เช่น
กรณีขาดไนโตรเจน ก็มักจะนิยมเติมปุ๋ยยูเรีย หรือ การขาดฟอสฟอรัสก็เติมกรดฟอสฟอริก
กรณีมากเกินไป หลายเอกสารบอกว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่เท่าที่เจอกับระบบบำบัดที่ผมดูแลพบว่ามันมีปัญหาตามมาเหมือนกัน
ส่วน BOD:N:P ทางที่ปรึกษาญี่ปุ่นแนะนำผมว่าตอนเริ่มเดินระบบใหม่ ซึ่งระบบที่ผมดูแลอยู่เป็นแบบกำจัดไนโตรเจน ให้ใช้สัดส่วน 100:10:1 ขึ้นไป เพื่อให้มี N มากพอ
สำหรับน้ำเสียที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ก็ควรวิเคราะห์ค่า N, P เป็นระยะๆเพื่อตรวจสอบด้วยนะครับ
ส่วนสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละที่นั้น ผมต้องทดลองดูครับว่าเท่าไรเหมาะสม อาจจะกำหนดเป็นช่วงกว้างๆ และต้องดูทั้งในด้านประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายสารเคมี หรือต้นทุนการบำบัดด้วยครับ
ที่มา
เอกสารประกอบการเรียน วิศวกรรมน้ำเสียของ ดร.เสนีย์ กาญจนวงศ์
เอกสารประกอบการอบรม ระบบบำบัดน้ำเสีย