อุบัติเหตุจากการผลัดตกจากที่สูงถือได้ว่ายังมีให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อหลายวันก่อนได้ดูข่าวเรื่องการตกจากที่สูงจนเสียชิวิต เสี่ยอสังหาฯ พลัดตกอาคารก่อสร้างลึก 25 เมตร จนท.ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต ก่อนสิ้นใจที่โรงพยาบาล https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_269489 ในเนื้อหาข่าวได้บอกลักษณะการเกิดเหตุว่าผู้เสียชีวิต ได้เดินตรวจสอบในพื้นที่ก่อสร้าง และเกิดพลัดตกลงไปในบ่อที่กำลังขุดบริเวณชั้นใต้ดิน ซึ่งมีความลึกประมาณ 20-25 เมตร จนหมดสติ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ และอาสาสมัครร่วมกตัญญู ได้ให้การช่วยเหลือและปั๊มหัวใจก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลและจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยมีคลิบจากกล้องวงจรปิดในขณะเกิดเหตุด้วย
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=zRYkp8FKsEM
สำหรับกรณีนี้ขอให้เป็นเครื่องเตือนสติให้กับผู้ที่ทำงานบนที่สูง หรือที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกจากที่สูงทุกๆคน ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน และขอรวบรวมวิธีการป้องกันการตกจากที่สูง มาทบทวนกันครับ
กฎพื้นฐาน
- เป็นผู้ได้รับมอบหมายและมีคุณสมบัติในการทำงานบนที่สูง
- สวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุมและเรียบร้อย
- เลือกจุดยึดที่แข็งแรงสามารถรับแรงกระชากเมื่อเกิดการตกได้
- สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำงานเสมอ ได้แก่ ถุงมือที่ปราศจากน้ำมัน รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness) และสายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL) เป็นต้น
- เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น Tripod และ Winch เตรียมไว้ เป็นต้น
อุปกรณ์ป้องกันการตก
อุปกรณ์ป้องกันการตกเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมามี 3 ประเภท
1.การป้องกันในสถานที่ทำงาน
– มีการจัดระบบงานเพื่อที่จำกัดการทำงานบนที่สูง
– ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตกเพื่อลดความเสี่ยง เช่น นั่งร้าน,ตาข่าย
– ใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคลเมื่อไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตกได้
- การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
– การฝึกอบรมให้กับผู้ที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานบนที่สูง
- การป้องกันโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก
– ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานให้ขอใบรับรองผลการทดสอบจากโรงงานผู้ผลิต
– ไม่สร้างระบบการป้องกันการตกด้วยตนเอง
ส่วนประกอบของระบบป้องกันการตกจากที่สูง ABCD
- A : จุดยึด (Anchorage) เป็นอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถรับแรงได้ 5,000 lbs เทียบเท่า 22.2 กิโลนิวตัน (kN) และยังใช้เป็นจุดยึดกับ Lifeline, Lanyard, SRL และอุปกรณ์กันตกอื่นๆ รวมทั้ง Rescue System ด้วย อุปกรณ์จุดยึด ได้แก่ H-Beam, โครงสร้างคานโลหะต่างๆ, คานคอนกรีต, คานไม้ เป็นต้น โดยมีอุปกรณ์สร้างจุดยึด เช่น Web-tie, Beam anchor และ Concrete anchor เป็นต้น ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับจุดยึด ได้แก่ Sling, Webbing และ Cable ซึ่งควรมีความยาวพอที่จะพันรอบจุด ยึดและมีปลายเหลือเพียงพอ
- B: ส่วนพยุงร่างกาย (Body Support) ชุดอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงาน สวมใส่ มีความกระชับและสามารถกระจายแรงจากการตกจากที่ สูงได้ โดยตัวผู้ปฏิบัติงานไม่หลุดออกจากชุดอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มขัด นิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness)
- C: อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ระหว่างจุดยึด (Anchorage) และส่วนพยุงร่างกาย (Body Support) ได้แก่ Snap hook, Big hook, Carabiners, Lanyard, Shock absorber
- D: อุปกรณ์กู้ภัย (Descent/Rescue) อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือ และกู้ภัยผู้ปฏิบัติงานหากมีการตกจากการทำงาน ได้แก่ Rollgliss, Rescumatic, Life-line system, Pulley และ Tripod
นอกจากนี้ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับที่สูงก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น
ข้อ ๘ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทำงานก่อสร้างบนพื้นต่างระดับที่มีความสูงตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีบันไดหรือทางลาดพร้อมทั้งติดตั้งราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อให้ เกิดความปลอดภัย
ข้อ ๓๐ การเจาะหรือขุดรู หลุม บ่อ คู และงานอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นายจ้างจัดให้มี ราวกั้นหรือรั้วกันตก แสงสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ตามลักษณะของงานก่อสร้างเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยไว้ตลอดเวลาทำงาน และในเวลากลางคืนต้องจัดให้มีสัญญาณไฟสีส้มหรือป้ายสีสะท้อนแสง เตือนอันตรายให้เห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ ๒ เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่มา
ในการทำงานบนที่สูงทุกครั้ง ต้องออกแบบพื้นที่ทำงานให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะ และใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยนะครับ
ที่มา
http://www.thai-safetywiki.com/fall-protection
http://www.pangolin.co.th อุปกรณ์กันตกจากที่สูง
http://www.oshthai.org