F/M ratio อัตราส่วน สารอาหารต่อจุลินทรีย์ (Food per Microorganism) คือ สัดส่วนปริมาณสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบในแต่ละวันต่อปริมาณ จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในระบบ เป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นมีอสภาพอย่างไร มีสารอาหารเพียงพอหรือไม่ หรือมีสารอาหารมากเกินไปหรือเปล่า ลองคิดเป็นภาพง่ายๆ ว่าสารอาหารที่เราป้อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอาหารและระบบบำบัดเทียบได้กับตัวเราเอง ค่า Food ก็คืออาหารที่เรากิน อาหารที่เรากินแต่ละมื้อหรือแต่ละวันก็จะเหมาะสมเท่ากับจำนวนหนึ่ง ถ้าเราให้ให้อาหารมากไปก็กินไม่หมด หรือให้น้อยเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่ดีต่อร่างกาย เช่นเดียวกับระบบบำบัดน้ำเสียถ้าป้อนสารอาหารมากเกินไปก็อาจจะบำบัดไม่หมด ประสิทธิภาพลดลง ถ้ามีปริมาณสารอาหารน้อยเกินไปก็มีผลต่อจุลินทรีย์ ดังนั้น ค่า F/M จึงเป็นพารามิเตอร์สำคัญ ที่ต้องทำการตรวจสอบเป็นประจำ
ในกรณีที่ระบบมี F/M สูง แสดงว่าสารอาหารมีค่าสูงขึ้น หรือจุลินทรีย์มีปริมาณน้อย ให้ลดการทิ้งตะกอน หากค่า F/M ต่ำ แสดงว่าสารอาหารมีค่าลดลง หรือ จุลินทรีย์มีมากให้เพิ่มการทิ้งตะกอน การที่ระบบบำบัดน้ำเสียมีค่า F/M ไม่เหมาะสมจะทำให้การรวมตัวของตะกอนไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาน้ำขุ่นที่ถังตกตะกอน หรือ ทำให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพต่ำได้
การคำนวณค่าอัตราส่วนสารอาหารต่อจุลินทรีย์ F/M ratio ได้จากสมการ
ค่า F/M ration จะขึ้นอยู่กับชนิดการออกแบบของแต่ละระบบบำบัดน้ำเสีย อาจจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0.05-0.6
สำหรับระบบบำบัดแบบ Activated Sludge ควรมีค่า F/M ratio 0.2-0.4 (ตำราระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ พ.ศ.2554 กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
ข้อแนะนำ ควรจะควบคุมค่า F/M ไม่ให้แกว่งขึ้นลงมากจนเกินไปในแต่ละวัน เนื่องจากทำให้การควบคุมค่าต่างๆ เช่น DO, pH ทำได้ยากและจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดครับ
ค่า MLVSS หาได้ยังไงครับ
โดยปกติเราจะหาของแข็งแขวนลอยในระบบอยู่แล้ว คือ SS หรือจะเรียกเป็นตัวแทนของจุลินทรีย์ MLSS วิธีการคือกรองผ่านกระดาษกรอง อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 103-105๐C น้ำหนักทที่เหลืออยู่จะเป็นของแข็งแขวนลอยทั้งหมด จากนั้นนำกระดาษกรองอันเดิมไปอบที่ 550-600๐C จะมีที่สารสลายไปเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ ส่วนตะกอนที่เหลือคือของแข็งคงตัวซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ น้ำหนักที่หายไปก็คือปริมาณของแข็งแขวนลอยที่ระเหยได้ VSS ซึ่งโดยปกติ MLSS > MLVSS เนื่องจากจะมีสารอนินทรีย์อยู่ในระบบบางส่วน ถ้าไม่ต่างกันมากก็ไม่จำเป็นต้องหาครับ สามารถใช้ MLSS ในการควบคุมระบบได้